Tuesday, September 11, 2018
Monday, September 10, 2018
Monday, August 27, 2018
Monday, August 6, 2018
วงจรไฟฟ้า
วงจรไฟฟ้า หมายถึง ทางเดินของกระแสไฟฟ้าซึ่งไหลมาจากแหล่งกำเนิดผ่านตัวนำ และเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลด แล้วไหลกลับไปยังแหล่งกำเนิดเดิม
วงจรไฟฟ้าประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
1. แหล่งกำเนิดไฟฟ้า หมายถึง แหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าไปยังวงจรไฟฟ้า เช่นแบตเตอรี่
2. ตัวนำไฟฟ้า หมายถึง สายไฟฟ้าหรือสื่อที่จะเป็นตัวนำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งต่อระหว่างแหล่งกำเนิดกับเครื่องใช้ไฟฟ้า
3. เครื่องใช้ไฟฟ้า หมายถึง เครื่องใช้ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานรูปอื่น ซึ่งจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โหลด
สำหรับสวิตซ์ไฟฟ้านั้นเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า มีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานให้มีความสะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ถ้าไม่มีสวิตซ์ไฟฟ้าก็จะไม่มีผลต่อการทำงานวงจรไฟฟ้าใดๆ เลย
การต่อวงจรไฟฟ้าสามารถแบ่งวิธีการต่อได้ 3 แบบ คือ
1. วงจรอนุกรม เป็นการนำเอาเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดหลายๆ อันมาต่อเรียงกันไปเหมือนลูกโซ่ กล่าวคือ ปลายของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 1 นำไปต่อกับต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 2 และต่อเรียงกันไปเรื่อยๆ จนหมด แล้วนำไปต่อเข้ากับแหล่งกำเนิด การต่อวงจรแบบอนุกรมจะมีทางเดินของกระแสไฟฟ้าได้ทางเดียวเท่านั้น ถ้าเกิดเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวใดตัวหนึ่งเปิดวงจรหรือขาด จะทำให้วงจรทั้งหมดไม่ทำงาน
คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรอนุกรม
1. กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านเท่ากันตลอดวงจร
2. แรงดันไฟฟ้าตกคร่อมส่วนต่างๆ ของวงจร เมื่อนำมารวมกันแล้วจะเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่แหล่งกำเนิด
3. ความต้านทานรวมของวงจร จะมีค่าเท่ากับผลรวมของความต้านทานแต่ละตัวในวงจรรวมกัน
2. วงจรขนาน เป็นการนำเอาต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกๆ ตัวมาต่อรวมกัน และต่อเข้ากับแหล่งกำเนิดที่จุดหนึ่ง นำปลายสายของทุกๆ ตัวมาต่อรวมกันและนำไปต่อกับแหล่งกำเนิดอีกจุดหนึ่งที่เหลือ ซึ่งเมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละอันต่อเรียบร้อยแล้วจะกลายเป็นวงจรย่อย กระแสไฟฟ้าที่ไหลจะสามารถไหลได้หลายทางขึ้นอยู่กับตัวของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่นำมาต่อขนานกัน ถ้าเกิดในวงจรมีเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวหนึ่งขาดหรือเปิดวงจร เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เหลือก็ยังสามารถทำงานได้ ในบ้านเรือนที่อยู่อาศัยปัจจุบันจะเป็นการต่อวงจรแบบนี้ทั้งสิ้น
คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรขนาน
1. กระแสไฟฟ้ารวมของวงจรขนาน จะมีค่าเท่ากับกระแสไฟฟ้าย่อยที่ไหลในแต่ละสาขาของวงจรรวมกัน
2. แรงดันไฟฟ้าตกคร่อมส่วนต่างๆ ของวงจร จะเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่แหล่งกำเนิด
3. ความต้านทานรวมของวงจร จะมีค่าน้อยกว่าความต้านทานตัวที่น้อยที่สุดที่ต่ออยู่ในวงจร
3. วงจรผสม เป็นวงจรที่นำเอาวิธีการต่อแบบอนุกรม และวิธีการต่อแบบขนานมารวมให้เป็นวงจรเดียวกัน ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะของการต่อได้ 2 ลักษณะดังนี้
3.1 วงจรผสมแบบอนุกรม-ขนาน เป็นการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดไปต่อกันอย่างอนุกรมก่อน แล้วจึงนำไปต่อกันแบบขนานอีกครั้งหนึ่ง
3.2 วงจรผสมแบบขนาน-อนุกรม เป็นการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดไปต่อกันอย่างขนานก่อน แล้วจึงนำไปต่อกันแบบอนุกรมอีกครั้งหนึ่ง
คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรผสม
เป็นการนำเอาคุณสมบัติของวงจรอนุกรม และคุณสมบัติของวงจรขนานมารวมกัน ซึ่งหมายความว่าถ้าตำแหน่งที่มีการต่อแบบอนุกรม ก็เอาคุณสมบัติของวงจรการต่ออนุกรมมาพิจารณา ตำแหน่งใดที่มีการต่อแบบขนาน ก็เอาคุณสมบัติของวงจรการต่อขนานมาพิจารณาไปทีละขั้นตอน
ความแตกต่างของวงจรเปิด-วงจรปิด
1. วงจรเปิด คือวงจรที่กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลได้ครบวงจร ซึ่งเป็นผลทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่ออยู่ในวงจรไม่สามารถจ่ายพลังงานออกมาได้ สาเหตุของวงจรเปิดอาจเกิดจากสายหลุด สายขาด สายหลวม สวิตซ์ไม่ต่อวงจร หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด เป็นต้น
2. วงจรปิด คือวงจรที่กระแสไฟฟ้าไหลได้ครบวงจร ทำให้โหลดหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่ออยู่ในวงจรนั้นๆ ทำงาน
ความหมายทางไฟฟ้า
1. แรงดันไฟฟ้า หรือแรงเคลื่อนไฟฟ้า หมายถึงแรงที่ดันให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านความต้านทานของวงจรไปได้ ใช้แทนด้วยตัว E มีหน่วยวัดเป็นโวลท์ (V)
2. กระแสไฟฟ้า หมายถึงการเคลื่อนที่ของอิเลคตรอนอิสระจากอะตอมหนึ่งไปยังอะตอมหนึ่ง จะไหลมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความต้านทานของวงจร ใช้แทนด้วยตัว I มีหน่วยวัดเป็นแอมแปร์ (A)
3. ความต้านทานไฟฟ้า หมายถึงตัวที่ต้านการไหลของกระแสไฟฟ้าให้ไหลในจำนวนจำกัด ซึ่ง อยู่ในรูปของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด เช่น แผ่นลวดความร้อนของเตารีด หม้อหุงข้าว หลอดไฟฟ้า เป็นต้น เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ต้านการไหลของกระแสไฟฟ้าให้ไหลในจำนวนจำกัด ใช้แทนด้วยตัว R มีหน่วยวัดเป็นโอห์ม (W )
4. กำลังงานไฟฟ้า หมายถึงอัตราการเปลี่ยนแปลงพลังงาน หรืออัตราการทำงาน ได้จากผลคูณของแรงดันไฟฟ้ากับกระแสไฟฟ้า ใช้แทนด้วยตัว P มีหน่วยวัดเป็นวัตต์ (W)
5. พลังงานไฟฟ้า หมายถึงกำลังไฟฟ้าที่นำไปใช้ในระยะเวลาหนึ่ง มีหน่วยวัดเป็นวัตต์ชั่วโมง (Wh) หรือยูนิต ใช้แทนด้วยตัว W
6. ไฟฟ้าลัดวงจรหรือไฟฟ้าช็อต หมายถึงการที่ไฟฟ้าไหลผ่านจากสายไฟฟ้าเส้นหนึ่งไปยังอีกเส้นหนึ่ง โดยไม่ผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดใดๆ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากฉนวนของสายไฟฟ้าชำรุด และมาสัมผัสกันจึงมีความร้อนสูง มีประกายไฟ ทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ถ้าบริเวณนั้นมีวัสดุไวไฟ
7. ไฟฟ้าดูด หมายถึงการที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย ซึ่งจะทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง หัวใจทำงานผิดจังหวะ เต้นอ่อนลงจนหยุดเต้น และเสียชีวิตในที่สุด แต่อย่างไรก็ตามความรุนแรงของอันตรายจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณของกระแส เวลาและเส้นทางที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน
8. ไฟฟ้ารั่ว หมายถึงสายไฟฟ้าเส้นที่มีไฟจะไหลไปสู่ส่วนที่เป็นโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้า ถ้าไม่มีสายดินก็จะทำให้ได้รับอันตราย แต่ถ้ามีสายดินก็จะทำให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลอยู่นั้นไหลลงดินแทน
9. ไฟฟ้าเกิน หมายถึงการใช้ไฟฟ้าเกินกว่าขนาดของอุปกรณ์ตัดตอนทางไฟฟ้า ทำให้มีการปลดวงจรไฟฟ้า อาการนี้สังเกตได้คือจะเกิดหลังจากที่ได้เปิดใช้ไฟฟ้าสักครู่ หรืออาจนานหลายนาทีจึงจะตรวจสอบเจอ
ที่มา : https://www.nectec.or.th/schoolnet/library/create-web/10000/technology/10000-7138.html
คำถาม 5 ข้อ
1. วงจรไฟฟ้า คืออะไร
ตอบ ทางเดินของกระแสไฟฟ้าซึ่งไหลมาจากแหล่งกำเนิดผ่านตัวนำ และเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลด แล้วไหลกลับไปยังแหล่งกำเนิดเดิม
2. วงจรไฟฟ้า แบ่งออกเป็นกี่ส่วน อะไรบ้าง
ตอบ 3 ส่วน คือ แหล่งกำเนิดไฟฟ้า ตัวนำไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า
3. วงจรอนุกรม คืออะไร
ตอบ การนำเอาเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดหลายๆ อันมาต่อเรียงกันไปเหมือนลูกโซ่ กล่าวคือ ปลายของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 1 นำไปต่อกับต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 2 และต่อเรียงกันไปเรื่อยๆ จนหมด แล้วนำไปต่อเข้ากับแหล่งกำเนิด การต่อวงจรแบบอนุกรมจะมีทางเดินของกระแสไฟฟ้าได้ทางเดียวเท่านั้น
4. วงจรขนาน คืออะไร
ตอบ วงจรขนาน เป็นการนำเอาต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกๆ ตัวมาต่อรวมกัน และต่อเข้ากับแหล่งกำเนิดที่จุดหนึ่ง นำปลายสายของทุกๆ ตัวมาต่อรวมกันและนำไปต่อกับแหล่งกำเนิดอีกจุดหนึ่งที่เหลือ ซึ่งเมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละอันต่อเรียบร้อยแล้วจะกลายเป็นวงจรย่อย กระแสไฟฟ้าที่ไหลจะสามารถไหลได้หลายทางขึ้นอยู่กับตัวของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่นำมาต่อขนานกัน ถ้าเกิดในวงจรมีเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวหนึ่งขาดหรือเปิดวงจร เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เหลือก็ยังสามารถทำงานได้ ในบ้านเรือนที่อยู่อาศัยปัจจุบันจะเป็นการต่อวงจรแบบนี้ทั้งสิ้น
5. ไฟฟ้าเกิน คืออะไร
ตอบ การใช้ไฟฟ้าเกินกว่าขนาดของอุปกรณ์ตัดตอนทางไฟฟ้า ทำให้มีการปลดวงจรไฟฟ้า อาการนี้สังเกตได้คือจะเกิดหลังจากที่ได้เปิดใช้ไฟฟ้าสักครู่ หรืออาจนานหลายนาทีจึงจะตรวจสอบเจอ
คำถาม 5 ข้อ
1. วงจรไฟฟ้า คืออะไร
ตอบ ทางเดินของกระแสไฟฟ้าซึ่งไหลมาจากแหล่งกำเนิดผ่านตัวนำ และเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลด แล้วไหลกลับไปยังแหล่งกำเนิดเดิม
2. วงจรไฟฟ้า แบ่งออกเป็นกี่ส่วน อะไรบ้าง
ตอบ 3 ส่วน คือ แหล่งกำเนิดไฟฟ้า ตัวนำไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า
3. วงจรอนุกรม คืออะไร
ตอบ การนำเอาเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดหลายๆ อันมาต่อเรียงกันไปเหมือนลูกโซ่ กล่าวคือ ปลายของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 1 นำไปต่อกับต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 2 และต่อเรียงกันไปเรื่อยๆ จนหมด แล้วนำไปต่อเข้ากับแหล่งกำเนิด การต่อวงจรแบบอนุกรมจะมีทางเดินของกระแสไฟฟ้าได้ทางเดียวเท่านั้น
4. วงจรขนาน คืออะไร
ตอบ วงจรขนาน เป็นการนำเอาต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกๆ ตัวมาต่อรวมกัน และต่อเข้ากับแหล่งกำเนิดที่จุดหนึ่ง นำปลายสายของทุกๆ ตัวมาต่อรวมกันและนำไปต่อกับแหล่งกำเนิดอีกจุดหนึ่งที่เหลือ ซึ่งเมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละอันต่อเรียบร้อยแล้วจะกลายเป็นวงจรย่อย กระแสไฟฟ้าที่ไหลจะสามารถไหลได้หลายทางขึ้นอยู่กับตัวของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่นำมาต่อขนานกัน ถ้าเกิดในวงจรมีเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวหนึ่งขาดหรือเปิดวงจร เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เหลือก็ยังสามารถทำงานได้ ในบ้านเรือนที่อยู่อาศัยปัจจุบันจะเป็นการต่อวงจรแบบนี้ทั้งสิ้น
5. ไฟฟ้าเกิน คืออะไร
ตอบ การใช้ไฟฟ้าเกินกว่าขนาดของอุปกรณ์ตัดตอนทางไฟฟ้า ทำให้มีการปลดวงจรไฟฟ้า อาการนี้สังเกตได้คือจะเกิดหลังจากที่ได้เปิดใช้ไฟฟ้าสักครู่ หรืออาจนานหลายนาทีจึงจะตรวจสอบเจอ
Buzzer บลัซเซอร์ คืออะไร
Buzzer บลัซเซอร์ คือ ลำโพงแบบแม่เหล็กหรือ แบบเปียโซที่มีวงจรกำเนิดความถี่ (oscillator ) อยู่ภายในตัว ใช้ไฟเลี้ยง 3.3 - 5V สามารถสร้างเสียงเตือนหรือส่งสัญญาณที่เป็นรูปแบบต่างๆ
เราอาจจะเคยได้ยินเสียงบลัซเซอร์อยู่บ่อยๆ เช่น เสียง ปี๊บที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ก็ใช้บลัซเซอร์ในการส่งสัญญาณให้ทราบสถานะของคอมพิวเตอร์ให้ทราบว่ามีปัญหาอะไร
ที่มา : : http://mindphp.com
คำถาม 5 ข้อ
1. Buzzer บลัซเซอร์ คืออะไร
ตอบ ลำโพงแบบแม่เหล็กหรือ แบบเปียโซที่มีวงจรกำเนิดความถี่ (oscillator ) อยู่ภายในตัว
2. Buzzer บลัซเซอร์ ใช้ไฟเลี้ยงเท่าไร
ตอบ 3.3 - 5V
3. Buzzer บลัซเซอร์ สามารถสร้างอะไรได้บ้าง
ตอบ สร้างเสียงเตือนหรือส่งสัญญาณที่เป็นรูปแบบต่างๆ
4. เราอาจจะเคยได้ยินเสียงบลัซเซอร์อยู่บ่อยๆ เช่นอะไรบ้าง
ตอบ เสียง ปี๊บที่อยู่ในคอมพิวเตอร์
5. การส่งสัญญาณของบลัซเซอร์ทำให้ทราบถึงอะไร
ตอบ ทำให้ทราบสถานะของคอมพิวเตอร์ให้ทราบว่ามีปัญหาอะไร
ที่มา : : http://mindphp.com
คำถาม 5 ข้อ
1. Buzzer บลัซเซอร์ คืออะไร
ตอบ ลำโพงแบบแม่เหล็กหรือ แบบเปียโซที่มีวงจรกำเนิดความถี่ (oscillator ) อยู่ภายในตัว
2. Buzzer บลัซเซอร์ ใช้ไฟเลี้ยงเท่าไร
ตอบ 3.3 - 5V
3. Buzzer บลัซเซอร์ สามารถสร้างอะไรได้บ้าง
ตอบ สร้างเสียงเตือนหรือส่งสัญญาณที่เป็นรูปแบบต่างๆ
4. เราอาจจะเคยได้ยินเสียงบลัซเซอร์อยู่บ่อยๆ เช่นอะไรบ้าง
ตอบ เสียง ปี๊บที่อยู่ในคอมพิวเตอร์
5. การส่งสัญญาณของบลัซเซอร์ทำให้ทราบถึงอะไร
ตอบ ทำให้ทราบสถานะของคอมพิวเตอร์ให้ทราบว่ามีปัญหาอะไร
ไฟฟ้า
ไฟฟ้า
ไฟฟ้า
เป็นพลังงานรูปหนึ่งที่ทำให้อิเลคตรอนอิสระที่มีอยู่ในตัวนำเกิดการเคลื่อนที่
ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงให้เป็นพลังงานรูปอื่นและนำเอาพลังงานเหล่านั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
ไฟฟ้าสถิต กับไฟฟ้ากระแส
สำหรับไฟฟ้าสถิตไม่สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
ไฟฟ้ากระแส คือ
การไหลของอิเลคตรอนภายในตัวนำไฟฟ้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
หรือไหลเข้าไปในตัวนำที่มีความต้านทานต่ำ
เป็นไฟฟ้าที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมา
และนำไปใช้งานเป็นประโยชน์ ในชีวิตประจำวัน ไฟฟ้ากระแสยังแบ่งออกได้ 2 ชนิดด้วยกัน คือ
1. ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current) ใช้ตัวย่อว่า DC มีลักษณะทิศทางการไหลจะไปทางเดียวตลอดระยะเวลาที่วงจรไฟฟ้าปิด
กล่าวคือ กระแสไฟฟ้าจะไหลจากขั้วบวกของแหล่งกำเนิดผ่านตัวนำ
ผ่านตัวต้านทานหรือโหลด ผ่านตัวนำแล้วย้อนกลับเข้าแหล่งกำเนิดที่ขั้วลบ
วนเวียนเป็นทางเดียวเช่นนี้ตลอดเวลา การไหลของไฟฟ้ากระแสตรงนี้ แหล่งกำเนิดที่รู้จักกันดีคือ ถ่านไฟฉาย
ไดนาโม ดีซีเยนเนอเรเตอร์ เป็นต้น
คุณสมบัติของไฟฟ้ากระแสตรง
1. กระแสไฟฟ้าไหลไปทิศทางเดียวกันตลอด
2. มีค่าแรงดันเป็นบวกเสมอ
3. สามารถเก็บประจุไว้ในเซลล์ หรือแบตเตอรี่ได้
ประโยชน์ของไฟฟ้ากระแสตรง
1. ใช้ในการชุบโลหะต่าง ๆ
2. ใช้ในการทดลองทางเคมี
3. ใช้เชื่อมโลหะและตัดแผ่นเหล็ก
4. ทำให้เหล็กมีอำนาจแม่เหล็ก
5. ใช้ในการประจุกระแสไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่
6. ใช้ในวงจรอิเลคโทรนิคส์
7. ใช้เป็นไฟฟ้าเดินทาง เช่น ไฟฉาย
ที่มา : https://sites.google.com/site/krudamrongonline/fifa-1
คำถาม 5 ข้อ
ที่มา : https://sites.google.com/site/krudamrongonline/fifa-1
คำถาม 5 ข้อ
1. ไฟฟ้า คืออะไร
ตอบ พลังงานรูปหนึ่งที่ทำให้อิเลคตรอนอิสระที่มีอยู่ในตัวนำเกิดการเคลื่อนที่ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงให้เป็นพลังงานรูปอื่นและนำเอาพลังงานเหล่านั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
2. ไฟฟ้า แบ่งได้กี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ไฟฟ้าสถิต กับไฟฟ้ากระแส
3. ไฟฟ้ากระแส คืออะไร
ตอบ การไหลของอิเลคตรอนภายในตัวนำไฟฟ้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หรือไหลเข้าไปในตัวนำที่มีความต้านทานต่ำ
4. ไฟฟ้ากระแสตรง คืออะไร
ตอบ ไฟฟ้ามีลักษณะทิศทางการไหลจะไปทางเดียวตลอดระยะเวลาที่วงจรไฟฟ้าปิด
5. ประโยชน์ของไฟฟ้ากระแสตรง เช่นอะไรบ้าง
ตอบ 1. ใช้ในการชุบโลหะต่าง ๆ
2. ใช้ในการทดลองทางเคมี
3. ใช้เชื่อมโลหะและตัดแผ่นเหล็ก
4. ทำให้เหล็กมีอำนาจแม่เหล็ก
5. ใช้ในการประจุกระแสไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่
6. ใช้ในวงจรอิเลคโทรนิคส์
7. ใช้เป็นไฟฟ้าเดินทาง เช่น ไฟฉาย
LED คืออะไร ?
LED คือ อะไร?
what is
LED?
LEDคืออะไร? อะไรคือLED?
ประวัติความเป็นมาของ
LED
หลอดLED นั้นมีมานานแล้ว
เริ่มปรากฎในแผงวงจรครั้งแรกเมื่อปี 1962 ซึ่งโดยช่วงแรกๆนั้น LED ให้ความเข้มแสงไม่มากนัก
และมีใช้ในเฉพาะ ความถี่ในช่วงแสง infra-red ที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้
(ซึ่งเรายังคงเห็นรูปแบบการใช้งานในช่วงแสง infra-red นี้ตามอุปกรณ์ประเภทรีโมทคอนโทรลในเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้านเรือนจนปัจจุบัน)
ต่อมา
LED ถูกพัฒนาให้สามารถเปล่งแสงที่มองเห็นได้
โดยแสงสีแดง ถูกคิดค้นขึ้นได้ก่อน แต่ก็ยังมีความเข้มแสงที่ต่ำอยู่ หลังจากนั้น LED ก็ถูกพัฒนาเรื่อยมาจนกระทั่งสามารถให้แสงที่ครอบคลุมย่านความถี่ตั้งแต่
infrared แสงที่มองห็นไปจนถึงย่าน ultra violet หรือ UV
ต่อจากนั้น
LED ก็ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย
ในอุปกรณ์ไฟแสดงตามแผงควบคุมต่างๆ, ในไฟแสดงตัวเลข seven segment และนาฬิกาดิจิตอล
ต่อมา
LED ก็ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพด้านความเข้มแสงมากขึ้น
จึงทำให้เกิดการนำเอา LED
มาใช้งานในการแสดงสัญญาณต่างๆ เช่น
ไฟสัญญาณสำหรับการบิน ไฟสัญญาณจราจร และเนื่องด้วย LED มีข้อดีในหลายๆ ด้าน
ไม่ว่าจะเป็นด้านประหยัดพลังงาน ด้านการใช้งานได้นานขึ้น การบำรุงรักษาที่ต่ำ
ด้านความทนทานของตัวหลอดเอง และขนาดก็เล็กมากเมื่อเทียบกับหลอดไส้อย่างเดิม
ทั้งยังปิดเปิดง่ายขึ้นแล้ว
นักวิจัยและบริษัทต่างๆจึงมุ่งเน้นพัฒนาประสิทธิภาพด้านความเข้มแสงหรือความสว่างให้สูงขึ้นไปอีก
เพื่อหวังที่จะนำเอา LED มาใช้เป็นไฟฟ้าแสงสว่างในชีวิตประจำวันเพื่อทดแทนหลอดไฟแบบที่มีใช้อยู่ทั่วไปในปัจจุบัน
แต่ก็ติดปัญหาเรื่องการทำให้ LED มีแสงสีขาว
เหมือนหลอดไฟทั่วไปไม่ได้
ผ่านมาเกือบ
30 ปี จนกระทั่ง ในปี 1990 นักวิทยาศาตร์ชาวญี่ปุ่น 3 คน
ได้ร่วมกันพัฒนาจนประสบความสำเร็จ ซึ่งภายหลังทั้ง 3 คนนี้จึงได้รับการยกย่องและได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์
ในปี 2014 ในฐานะเป็นผู้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ ที่จะทำให้เิกิดการปฏิวัติวงการทั้งโลก
ด้านไฟฟ้าแสงสว่างและการใช้พลังงาน ในศตวรรษที่ 21 เลยทีเดียว
LED ในปัจจุบันและอนาคต
จึงทำให้ในปัจจุบัน
หลอด LED เริ่มนำมาใช้อย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็น
ไฟแสงสว่างรถยนต์ หรือไฟฟ้าแสงสว่างทั่วไป แต่ก็ยังติดปัญหาด้านต้นทุนการผลิตอยู่
แต่ในอนาคตอีกไม่นานเมื่อต้นทุนในการผลิตหลอดไฟLEDต่ำลงเรื่อยๆ เราคงได้เห็น หลอดไฟLED ได้โดยทั่วไปซึ่งจะมาแทนหลอดไฟในปัจจุบันไม่ต่างจากการเข้ามาแทนหลอดไส้ของฟลูออเรสเซนต์
เหมือนช่วงอดีตที่ผ่านมาแน่นอน.....
หลักการทำงานของ
LED
เพื่อให้ทันต่อกระแส
การเข้าใจและรู้หลักการทำงาน LED จึงน่าจะเป็นประโยชน์
เพื่อที่จะได้เปิดใจและยอมรับสิ่งที่กำลังจะกลายเป็นอนาคตของพวกเราทุกคน..
เริ่มจากคำย่อ
LED
L-Light แสง
E-Emitting เปล่งประกาย
D-Diodeไดโอด
แปลรวมกัน
ก็คือ " ไดโอดชนิดเปล่งแสง "
มีสัญลักษณ์ที่ใช้ในวงจรคือ
สัญลักษณ์
LED
สัญลักษณ์
LED
ส่วนหน้าตาของ
LED ที่เห็นกันบ่อย ๆ ในวงจร ก็ให้ดูรูป
ตัวอย่าง
LED
ตัวอย่าง
LED
ไดโอด
คือ สารกึ่งตัวนำประเภทหนึ่ง ที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านทางเดียว ไดโอด
นั้นมีใช้อยู่ทั่วไปในวงจรอิเลคทรอนิกส์ และวงจรไฟฟ้า
ไดโอดทั่วไป
มีสัญลักษณ์ คือ สัญลักษณ์ไดโอดต่างกันนิดหน่อยตรงที่ไม่มีลูกศรแสดงการเปล่งแสง
การต่อวงจร
หลักการต่อวงจรของ
LED ไม่มีอะไรซับซ้อน
เพียงจ่ายไฟบวกกระแสตรงเข้าที่ขา อาร์โนด (Anode) หรือขาที่ยาวกว่า และต่อไฟลบเข้ากับขา แคโธด(Cathode)หรือขาสั้น
จะทำให้เกิดแรงดันตกคร่อมตัว LED ที่เรียกว่า
Vf หรือ Farword Voltage เมื่อมีแรงดันตกคร่อม Vf ที่ว่านี้
ด้วยคุณสมบัติของสารกึ่งตัวนำภายใน LEDก็จะเปล่งแสงออกมา แต่เพื่อจำกัดไม่ให้กระแสไหลผ่าน LED มากจนเกินไป ก็จำเป็นต้องต่อ
ตัวต้านทาน หรือ R หรือ Resistor อนุกรมเข้าไปในวงจร ดังรูปข้างล่าง
วงจรการต่อ
LED
วงจรการต่อ
LED
วิธีการหาค่า
R ใช้สูตรง่ายๆ กฏของโอห์ม V=IR, V=(Vdc-Vf)
ส่วนคุณสมบัติสำคัญของไดโอด
LED คือ แรงดันตกคร่อมหรือ Vf และกระแสไหลผ่านที่ทนได้สูงสุดหรือ Imax
ตัวต้านทานหรือ
R ที่ต่อไว้เพื่อจำกัดกระแส
ก็มีความร้อนเกิดขึ้นดังนั้นสิ่งที่สำคัญในการออกแบบหลอดไฟที่ใช้ LED สิ่งหนึ่งคือการเลือก ตัวต้านทานหรือ R ที่มีอัตราการระบายความร้อนที่ดี
เพื่อเอาความร้อนออกไปให้ไกลจากตัวหลอด LED
ตัวอย่าง
R เพื่อจำกัดกระแสผ่าน LED
ตัวอย่าง
R เพื่อจำกัดกระแสผ่าน LED
การระบายความร้อน
โดยหลักการแล้วใน
LED แบบทั่วๆไปจะเปล่งแสงโดยไม่มีความร้อนเกิดขึ้น
หรือเกิดขึ้นน้อยมากจนเราสามรถใช้มือเปล่าสัมผัสได้
แต่ใน
Hi Power LED หรือ LED กำลังสูง ที่ให้แสงสว่างมากๆ
มีความร้อนเกิดขึ้นมาก
การออกแบบระบบระบายความร้อนจึงมีความสำคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
แผงระบายความร้อนหรือที่เรียกว่าฮีทซิงค์ (Heat Sink) ส่วนใหญ่ทำมาจาก อลูมิเนียมซึ่งมีคุณสมบัติคือ
หลอมขึ้นรูปได้ง่าย น้ำหนักเบา และพาความร้อนได้ดี
Hi Power LED
COB Hi Power
LED
heat sinks
Heat sink แบบต่างๆ
ทั้งนี้
การออกแบบฮีทซิงค์ นอกจากจะคำนึงถึงการระบายความร้อนแล้ว ยังต้องคำนึงถึง
ให้รูปทรงเป็นตามลักษณะของหลอดไฟอีกด้วย การออกแบบระบบระบายความร้อนที่ดี
จะช่วยให้อายุการใช้งานของ หลอดไฟLED ยาวนานถึง 60,000 ชั่วโมง โดยความสว่างไม่ลดลง แต่ในทางตรงกันข้าม
การออกแบบ heat sink ที่ไม่ดี ย่อมทำให้ความร้อนสะสมในหลอด LED มาก ผลก็คืออายุของ LED จะสั้นลงและไม่เป็นไปตามผู้ผลิตกำหนดไว้นั่นเอง
"
แค่คิดจะเปลี่ยนมาใช้ หลอดled
= คุณกำลังคิดช่วยต่ออายุให้โลก
"
ที่มา : https://www.klcbright.com/LEDis.php
คำถาม 5 ข้อ
1. ประวัติความเป็นมาของ LED มีว่าอย่างไร
ตอบ หลอดLED นั้นมีมานานแล้ว เริ่มปรากฎในแผงวงจรครั้งแรกเมื่อปี 1962 ซึ่งโดยช่วงแรกๆนั้น LED ให้ความเข้มแสงไม่มากนัก และมีใช้ในเฉพาะ ความถี่ในช่วงแสง infra-red ที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ (ซึ่งเรายังคงเห็นรูปแบบการใช้งานในช่วงแสง infra-red นี้ตามอุปกรณ์ประเภทรีโมทคอนโทรลในเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้านเรือนจนปัจจุบัน)
ต่อมา LED ถูกพัฒนาให้สามารถเปล่งแสงที่มองเห็นได้ โดยแสงสีแดง ถูกคิดค้นขึ้นได้ก่อน แต่ก็ยังมีความเข้มแสงที่ต่ำอยู่ หลังจากนั้น LED ก็ถูกพัฒนาเรื่อยมาจนกระทั่งสามารถให้แสงที่ครอบคลุมย่านความถี่ตั้งแต่ infrared แสงที่มองห็นไปจนถึงย่าน ultra violet หรือ UV
ต่อจากนั้น LED ก็ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ในอุปกรณ์ไฟแสดงตามแผงควบคุมต่างๆ, ในไฟแสดงตัวเลข seven segment และนาฬิกาดิจิตอล
ต่อมา LED ก็ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพด้านความเข้มแสงมากขึ้น จึงทำให้เกิดการนำเอา LED มาใช้งานในการแสดงสัญญาณต่างๆ เช่น ไฟสัญญาณสำหรับการบิน ไฟสัญญาณจราจร และเนื่องด้วย LED มีข้อดีในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านประหยัดพลังงาน ด้านการใช้งานได้นานขึ้น การบำรุงรักษาที่ต่ำ ด้านความทนทานของตัวหลอดเอง และขนาดก็เล็กมากเมื่อเทียบกับหลอดไส้อย่างเดิม ทั้งยังปิดเปิดง่ายขึ้นแล้ว นักวิจัยและบริษัทต่างๆจึงมุ่งเน้นพัฒนาประสิทธิภาพด้านความเข้มแสงหรือความสว่างให้สูงขึ้นไปอีก เพื่อหวังที่จะนำเอา LED มาใช้เป็นไฟฟ้าแสงสว่างในชีวิตประจำวันเพื่อทดแทนหลอดไฟแบบที่มีใช้อยู่ทั่วไปในปัจจุบัน แต่ก็ติดปัญหาเรื่องการทำให้ LED มีแสงสีขาว เหมือนหลอดไฟทั่วไปไม่ได้
ผ่านมาเกือบ 30 ปี จนกระทั่ง ในปี 1990 นักวิทยาศาตร์ชาวญี่ปุ่น 3 คน ได้ร่วมกันพัฒนาจนประสบความสำเร็จ ซึ่งภายหลังทั้ง 3 คนนี้จึงได้รับการยกย่องและได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี 2014 ในฐานะเป็นผู้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ ที่จะทำให้เิกิดการปฏิวัติวงการทั้งโลก ด้านไฟฟ้าแสงสว่างและการใช้พลังงาน ในศตวรรษที่ 21 เลยทีเดียว
LED ในปัจจุบันและอนาคต
จึงทำให้ในปัจจุบัน หลอด LED เริ่มนำมาใช้อย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็น ไฟแสงสว่างรถยนต์ หรือไฟฟ้าแสงสว่างทั่วไป แต่ก็ยังติดปัญหาด้านต้นทุนการผลิตอยู่ แต่ในอนาคตอีกไม่นานเมื่อต้นทุนในการผลิตหลอดไฟLEDต่ำลงเรื่อยๆ เราคงได้เห็น หลอดไฟLED ได้โดยทั่วไปซึ่งจะมาแทนหลอดไฟในปัจจุบันไม่ต่างจากการเข้ามาแทนหลอดไส้ของฟลูออเรสเซนต์ เหมือนช่วงอดีตที่ผ่านมาแน่นอน.....
หลักการทำงานของ LED
เพื่อให้ทันต่อกระแส การเข้าใจและรู้หลักการทำงาน LED จึงน่าจะเป็นประโยชน์ เพื่อที่จะได้เปิดใจและยอมรับสิ่งที่กำลังจะกลายเป็นอนาคตของพวกเราทุกคน
2. คำย่อของ LED ในแต่ละตัวอักษรมีความหมายว่าอย่างไรบ้าง และแปลรวมกัน หมายถึงอะไร
ตอบ L-Light แสง
2. คำย่อของ LED ในแต่ละตัวอักษรมีความหมายว่าอย่างไรบ้าง และแปลรวมกัน หมายถึงอะไร
ตอบ L-Light แสง
E-Emitting เปล่งประกาย
D-Diodeไดโอด
แปลรวมกัน ก็คือ " ไดโอดชนิดเปล่งแสง "
3. ไดโอด คืออะไร
ตอบ ไดโอด คือ สารกึ่งตัวนำประเภทหนึ่ง ที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านทางเดียว ไดโอด นั้นมีใช้อยู่ทั่วไปในวงจรอิเลคทรอนิกส์ และวงจรไฟฟ้า
แปลรวมกัน ก็คือ " ไดโอดชนิดเปล่งแสง "
3. ไดโอด คืออะไร
ตอบ ไดโอด คือ สารกึ่งตัวนำประเภทหนึ่ง ที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านทางเดียว ไดโอด นั้นมีใช้อยู่ทั่วไปในวงจรอิเลคทรอนิกส์ และวงจรไฟฟ้า
ไดโอดทั่วไป มีสัญลักษณ์ คือ สัญลักษณ์ไดโอดต่างกันนิดหน่อยตรงที่ไม่มีลูกศรแสดงการเปล่งแสง
4. วิธีการหาค่า R มีวิธีหาค่าอย่างไร
ตอบ กฏของโอห์ม V=IR, V=(Vdc-Vf)
5. การออกแบบ heat sink ที่ไม่ดี ย่อมทำให้ความร้อนสะสมในหลอด LED มาก ผลที่เกิดขึ้นคืออะไร
ตอบ ผลก็คืออายุของ LED จะสั้นลงและไม่เป็นไปตามผู้ผลิตกำหนดไว้นั่นเอง
4. วิธีการหาค่า R มีวิธีหาค่าอย่างไร
ตอบ กฏของโอห์ม V=IR, V=(Vdc-Vf)
5. การออกแบบ heat sink ที่ไม่ดี ย่อมทำให้ความร้อนสะสมในหลอด LED มาก ผลที่เกิดขึ้นคืออะไร
ตอบ ผลก็คืออายุของ LED จะสั้นลงและไม่เป็นไปตามผู้ผลิตกำหนดไว้นั่นเอง
ความหมายของอิเล็กทรอนิกส์
ความหมายของอิเล็กทรอนิกส์
ในปัจจุบันมีอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ถูกผลิตออกมาใช้งานเป็นจำนวนมาก
อุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านี้ ใช้พลังงานไฟฟ้าในการทำงานทั้งสิ้น
อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เรารู้จักเป็นอย่างดีได้แก่ เตารีดไฟฟ้า หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องซักผ้าคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นMP3 เป็นต้น
จากอุปกรณ์ไฟฟ้าดังถ้าหากมีใครถามเราว่าอุปกรณ์ตัวใดเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์ใดเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
เราอาจจะบอกได้ว่า เตารีดไฟฟ้า หม้อหุงข้าวไฟฟ้าเครื่องซักผ้า
เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าส่วนคอมพิวเตอร์ เครื่องรับโทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่น MP3 เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
แล้วเราเคยสงสัยหรือไม่ว่าการแบ่งว่าอุปกรณ์ใดเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า
และอุปกรณ์ใดเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เราใช้หลักเกณฑ์อย่างไร
เพื่อให้เราเข้าใจเกี่ยวกับหลักการในการอธิบายว่า
อุปกรณ์ใดเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าหรืออิเล็กทรอนิกส์ ยื่น ภู่วรวรรณ (2521: 3)
ได้อธิบายไว้ว่า การศึกษาวิชาไฟฟ้า
จะเน้นหนักในแง่ของการนำเอาพลังงานไฟฟ้ามาใช้ประโยชน์
โดยจุดมุ่งหมายหลักจะอยู่ที่ตัว พลังงานไฟฟ้านั้น ดังนั้นจะเห็นว่า เตารีดไฟฟ้า
หม้อหุงข้าวไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าเพราะอุปกรณ์ทั้งสองเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้า ให้เป็นพลังงานความร้อนแล้วนำมาใช้งาน
หลอดไฟฟ้าเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นแสงสว่าง พัดลมเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล
ยืน
ภู่วรวรรณ (2521: 4) ได้อธิบายเกี่ยวกับการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ไว้ว่า
วิชาอิเล็กทรอนิกส์นั้น จุดมุ่งหมายของการศึกษา อยู่ที่ผลของสัญญาณทางไฟฟ้า ซึ่งคำว่าสัญญาณไฟฟ้านี้มีขอบเขตกว้างขวางมาก
วิทยุและเครื่องรับโทรทัศน์เป็นอุปกรณ์ทาง
อิเล็กทรอนิกส์ที่รับคลื่นสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าจากอากาศแล้วเปลี่ยนรูปเป็น
สัญญาณไฟฟ้าจากนั้นจึงขยายสัญญาณแล้วเปลี่ยนรูป
เป็นสัญญาณเสียงและสัญญาณภาพให้เราได้ยินและมองเห็นภาพทางหน้าจอแต่ถ้าหากสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ไม่ออกอากาศ
กระจายเสียงและแพร่ภาพแล้ว
วิทยุและโทรทัศน์ก็ไม่สามารถจะรับฟังเสียงและมองภาพทางหน้าจอได้
ประดับ
นาคแก้ว วัชวัลย์ ครุฑไชยันต์และดาวัลย์ เสริมบุญสุข (2548: 147)
ได้อธิบายความหมายของอิเล็ทรอนิกส์ไว้ว่า วิชาที่ว่าด้วยการควบคุมและออกแบบการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า
ที่มา : https://sites.google.com/site/elecso25/home/menu_2
คำถาม 5 ข้อ
1. การศึกษาวิชาไฟฟ้า จะเน้นหนักในแง่ใด
ตอบ การนำเอาพลังงานไฟฟ้ามาใช้ประโยชน์ โดยจุดมุ่งหมายหลักจะอยู่ที่ตัว
2. อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว เช่นอะไรบ้าง
ตอบ คอมพิวเตอร์ เครื่องรับโทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่น MP3
3. อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนดังกล่าว เช่นอะไรบ้าง
ตอบ เตารีดไฟฟ้า หม้อหุงข้าว
4. อิเล็ทรอนิกส์ หมายถึงอะไร
ตอบ วิชาที่ว่าด้วยการควบคุมและออกแบบการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า
5. จากเรื่อง สรุปได้ว่าอย่างไร
ตอบ การนำสัญญาณไฟฟ้าไปใช้งาน การควบคุมและออกแบบสัญญาณไฟฟ้าอุปกรณ์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานสัญญาณไฟฟ้าให้ เป็นไปตามที่ออกแบบไว้
คุณสมบัติของพลาสติก
คุณสมบัติของพลาสติก
พลาสติกแต่ละชนิดประเภท
มีหลากหลายคุณสมบัติที่แตกต่างกัน
โดยสามารถนำไปใช้งานได้ต่างวัตถุประสงค์และความเหมาะสม การพิจารณาเลือกใช้พลาสติกเป็นสิ่งที่สำคัญ
ทั้งนี้ควรเลือกพิจารณาจากคุณสมบัติของพลาสติกแต่ละประเภท ดังนี้
poly
คุณสมบัติ
ฟิล์มโพลิเอทิลีน (POLYETHYLENE)
โปร่งแสง
โดยทั่วไป PE ที่มีความหนาแน่นเพิ่มขึ้นจะมีความใสลดลง
LDPE ต่างจาก LDPE ที่มีความมันวาวมากกว่า
นิ่มและยืดหยุ่น
มีความเหนียวสูง
มีความทนทานต่อสารเคมีจำพวกกรด
ด่างได้ดี แต่ถ้าเป็นตัวทำลาย ฟิล์ม LDP และ MDPE จะทนทานได้ปานกลาง ในขณะที่ฟิล์ม HDPE จะทนทานได้ดีกว่า
ดูดซึมน้ำได้ต่ำมาก
ป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำได้ดี
ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้ต่ำ
(HDPE จะป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้ดีกว่า)
ป้องกันการซึมผ่านของไขมัน/น้ำมันได้ต่ำ
(HDPE จะป้องกันการซึมผ่านของไขมัน/น้ำมันได้ดีกว่า)
ปิดผนึกด้วยความร้อนได้ดี
(ยกเว้น HDPE) LDPE ปิดผนึกที่อุณหภูมิ 122 - 155
องศาเซลเซียส
ใช้ได้เหมาะสมกับอุณหภูมิตั้งแต่
40 องศาเซลเซียส ถึง 80 องศาเซลเซียส (ยกเว้น HDPE สามารถใช้ได้ถึง 120 องศสเซลเซียส
มีความคงรูปต่ำ
(HDPE จะคงรูปได้ดีกว่า)
มีความปลอดภัย
สามารถใช้กับอาหารและยาได้
คุณสมบัติ
ฟิล์มโพลิโพรพิลีน (POLYPROPYLENE)
โปร่งใส
มีผิวหน้าเป็นมันวาว ฝุ่นไม่เกาะติดง่าย
มีความเหนียว
มีความทนทานต่อสารเคมี
ไม่ว่าจะเป็นกรด ด่าง ตัวทำลาย
ดูดซึมน้ำได้ต่ำมาก
ป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำได้ดี
(ฟิล์ม OPP จะดีกว่า CPP)
ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้ต่ำ
(ฟิล์ม OPP จะดีกว่า CPP)
ป้องกันการซึมผ่านของไขมัน/น้ำมันได้ดี
ฟิล์ม
OPP จะปิกผนึกด้วยความร้อนได้ที่อุณหภูมิ
135 - 150 องศาเซลเซียส ส่วนฟิล์ม OPP จะปิดผนึกด้วยความร้อนไมได้เพราะเกิดการหดตัวของฟิล์ม
ทนทานต่อความร้อนได้สูง
สามารถใช้งานในอุณหภูมิสูงถึง 120 องศาเซลเซียส
ฟิล์ม
CPP ไม่ทนทานต่อการใช้งานที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง
เพราะจะกรอบแตก แต่ฟิล์ม OPP
สามารถใช้ได้กับอุณหภูมิต่ำถึง 40
องศสเซเซียส
มีความต้านทานการขีดข่วนสูง
มีความทนทานต่อการพับ
มีความคงรูป
มีความปลอดภัย
สามารถใช้กับอาหารและยาได้
คุณสมบัต
ฟิล์มโพลิไวนิลคลอไรต์ (POLYVINYLCHLORIDE
: U)
โปร่งใส
ไม่เป็นฝ้าขุ่นมัวแม้จะอยู่ในที่ ๆ มีอุณหภูมิต่ำ
มีความเหนียวสูง
มีความทนทานต่อสารเคมีส่วนมาก
รวมทั้งกรดและด่าง
ดูดซึมน้ำได้ค่อนข้างสูง
ป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำได้ต่ำ
ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้อยู่ในเกณฑ์ปานกลางจนถึงต่ำ
ขึ้นอยู่กับสารเติมแต่งที่ใสลงไป
ป้องกันการซึมผ่านของไขมัน/น้ำมันได้ดี
ปิกผนึกด้วยความร้อนได้ดีที่อุหภูมิช่วงเดียวกับ
LDPE คือ 120 - 175 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิที่เหมาะสมกับการใช้งานไม่เกิน
80 องศาเซลเซียส
ส่วนอุณหภูมิต่ำสุดนั้นไม่แน่นอนขึ้นกับชนิดของสารพลาสติกที่เติมลงไป
คุณสมบัติ
ฟิล์มโพลิสไตรีน (POLYSTYRENE)
โปร่งใส
มีความมันวาว (GPPS จะใสกว่า HIPS เล็กน้อย)
มีความเหนียวอยู่ในเกณฑ์ดี
มีความทนทานต่อสารเคมี
โดยเฉพาะพวกกรดและด่าง แต่ถ้าเป็นพวกสารอะไรเมติกและตัวทำละลายจะทนทานได้ต่ำ
ดูดซึมน้ำได้ต่ำ
ทำให้ไม่ก่อให้เกิดปัญหาในด้านการเปลี่ยนแปลงขนาด
ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้ต่ำ
ป้องกันการซึมผ่านของน้ำมันพืชได้ดี
ปิดผนึกด้วยความร้อนได้โดยใช้อุณหภูมิในช่วง
135 - 175 องศาเซลเซียส ฟิล์ม PS ซึ่งบางมากอาจมีปัญหาในการปิดผนึกด้วยความร้อน
จึงควรใช้กาวหรือตัวทำละลายช่วยเพื่อให้ละลายติดกัน
อุณหูมิที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานอย่างต่อเนื่องของ
GPPS ไม่ควรเกิน 87 องศาเซลเซียส และ ของ HIPS ไม่ควรเกิน 82 องศาเซลเซียส
ส่วนอุณหภูมิต่ำสุดนั้นไม่ควรต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส
มีความคงรูป
จึงสามารถเข้าเครื่องพิมพ์ที่มีความเร็วสูงได้ดี
มีความต้านทานต่อการพับต่ำ
จึงเป็นรอยพับง่าย และไม่ตื่นตัว
มีความต้านทานต่อสภาพแวดล้อม
จึงเก็บได้นานโดยไม่กรอบหรือเปลี่ยนสี
คุณสมบัติ
ฟิล์มโพลิแอไมค์
โปร่งใส
มีควาเหนียวสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถต้านแรงทิ่มทะลุ
และแรงดันทะลุได้สูง
มีความคงรูป
มีความทนทานต่อการขัดสีสูง
มีความทนทานต่อสารเคมีจำพวกกรดและตัวทำละลายอยู่ในเกณฑ์ดี
แต่ไม่ทนทานต่อด่าง
ดูดซึมน้ำได้สูง
จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของขนาดได้ และไม่ทนทานต่อสภาวะแวดล้อม คือ
การขุ่นมัวและเปลี่ยนสีเมื่อเก็บไว้นาน
ป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำได้ต่ำ
ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้ดีมาก
ไม่ว่าจะเป็นก๊าซออกซเจน ไนโตรเจน ละคาร์บอนไดออกไซด์
ป้องกันการซึมผ่านของไขมัน/น้ำมันได้สูง
ปิดผนึกด้วยความร้อนได้
โดยใช้อุณหภูมิ 130 - 180 องศาเซลเซียส
ทนทานต่ออุณหภูมิทั้งร้อนจัดละเย็นจัด
สามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูงถึง 160 องศาเซลเซียสและต่ำถึง 40 องศาเซลเซียส
ต้านทานการพับได้สูง
คุณสมบัติ
ฟิล์มโพลิไวนิลลิตินคลอไรด์ (POLYVINYLIDENE CHLORIDE)
โปร่งใส
มีความเป็นมันสูง
มีความเหนียวสูง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสมบัติของค่าการต้านแรงดึง และการต้านแรกระแทก
มีความทนทานต่อสารเคมี
ยกเว้นด่างก่ เอสเทอร์ และคีโทน
ดูดซึมน้ำได้ต่ำ
ป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำได้ดีมาก
(ดีที่สุดใรบรรดาพลาสติกที่ใช้ในการหีบห่อ)
ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซและกลิ่นต่าง
ๆ ได้ดีมาก
ป้องกันการซึมผ่านของไขมัน/น้ำมันได้ดี
ปิดผนึกด้วยความร้อนได้
โดยใช้อุณหภูมิ 120 - 150 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิที่เหมาะสมในการใช้งาน
ไม่ควรเกิน 135 องศาเซลเซียส และไม่ต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส
มีความปลอดภัย
สามารถใช้ได้กับอาหารและยา
คุณสมบัติ
ฟิล์มโพลิเอทิลีนเทอร์ฟะทาเอด (POLYETHYLENE TEREPHALATE)
โปร่งใส
มีความเหนียวสูง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสมบัติของค่าการต้านแรงดึง และการต้านแรงกระแทก
มีความทนทานต่อสารเคมีจำพวกกรดและตัวทำละลายอินทรีย์ได้ดี
และไม่ทนทานต่อด่าง
ดูดซึมน้ำได้ต่ำ
ป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำได้ดี
(ใกล้เคียงกับฟิล์ม LDPE)
ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้ดีมาก
ป้องกันการซึมผ่านของไขมัน/น้ำมันได้ดี
ปิดผนึกด้วยความร้อนได้
แต่ต้องใช้อุณหภูมิที่สูงถึง 220 - 230 องศาเซลเซียส
คุณสมบัติ
ฟิล์มไอไอโนเมอร์
โปร่งใส
มีความเหนียวสูง
โดยมีคุณสมบัติต้านแรงดึง และแรงกระแทกใกล้เคียงกับฟิล์ม LDPE และความต้านทานต่อการทิ่มทะลุได้สูง
ทนทานต่อสารเคมีสูง
ไม่ว่าจะเป็นกรด ด่าง หรือตัวทำละลาย
ดูดซึมน้ำได้ต่ำ
ป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำได้ดี
ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้ต่ำ
ป้องกันการซึมผ่านของไขมัน/น้ำมันได้ดี
ปิดผนึกด้วยความร้อนได้ดี
ในช่วงอุณหภูมิที่กว้างและต่ำกว่า LDPE คือระหว่าง 115 - 200 องศาเซลเซียส
มีความต้านทานต่อการขัดสีสูง
อุณหภูมิเหมาะสมกับการใช้งาน
คือสูงสุดไม่เกิน 70 องศาเซลเซียส แต่ต่ำสุดได้ถึง 70 องศาเซลเซียส
มีความปลอดภัย
สามารถใช้กับอาหารได้
คุณสมบัติ
ฟิล์มเอทิลีนไวนิลแอลกอฮอล์
โปร่งใส
มีความคงรูป
มีความเหนียวสูง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าการต้านแรงดึงขาด
ดูดซึมน้ำได้ง่าย
ป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำได้ต่ำ
ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้ดีมาก
เก็บรักษารสชาติ
และกลิ่นของผลิตภัณฑ์ไว้ได้ดีมาก
ป้องกันการซึมผ่านของไขมัน/น้ำมันได้สูง
ทนทานต่อรังสีอัลตราไวโอเลต
และรังสีอื่นได้ดี
อุณหภูมิในการใช้งานสูงสุดถึง
240 องศาเซลเซียส
เศษที่เหลือจากผลิต
(scrap) สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
มีความปลอดภัย สามารถใช้กับอาหารได้ที่มา: http://www.tupack.co.th/knowledge/314
คำถาม 5 ข้อ
1.คุณสมบัติของพลาสติก มีอะไรบ้าง
ตอบ มีหลากหลายคุณสมบัติที่แตกต่างกัน โดยสามารถนำไปใช้งานได้ต่างวัตถุประสงค์และความเหมาะสม
2. คุณสมบัติ ฟิล์มโพลิเอทิลีน (POLYETHYLENE) มีอะไรบ้าง
ตอบ โปร่งแสง โดยทั่วไป PE ที่มีความหนาแน่นเพิ่มขึ้นจะมีความใสลดลง LDPE ต่างจาก LDPE ที่มีความมันวาวมากกว่า
3. คุณสมบัติ ฟิล์มโพลิไวนิลลิตินคลอไรด์ (POLYVINYLIDENE CHLORIDE) มีอะไรบ้าง
ตอบ โปร่งใส มีความเป็นมันสูง
มีความเหนียวสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสมบัติของค่าการต้านแรงดึง และการต้านแรงกระแทก
4. คุณสมบัติ ฟิล์มโพลิโพรพิลีน (POLYPROPYLENE) มีอะไรบ้าง
ตอบ โปร่งใส มีผิวหน้าเป็นมันวาว ฝุ่นไม่เกาะติดง่าย
4. คุณสมบัติ ฟิล์มโพลิโพรพิลีน (POLYPROPYLENE) มีอะไรบ้าง
ตอบ โปร่งใส มีผิวหน้าเป็นมันวาว ฝุ่นไม่เกาะติดง่าย
มีความเหนียว
มีความทนทานต่อสารเคมี ไม่ว่าจะเป็นกรด ด่าง ตัวทำลาย
ดูดซึมน้ำได้ต่ำมาก
5. คุณสมบัต ฟิล์มโพลิไวนิลคลอไรต์ (POLYVINYLCHLORIDE : U)
ตอบ โปร่งใส ไม่เป็นฝ้าขุ่นมัวแม้จะอยู่ในที่ ๆ มีอุณหภูมิต่ำ
5. คุณสมบัต ฟิล์มโพลิไวนิลคลอไรต์ (POLYVINYLCHLORIDE : U)
ตอบ โปร่งใส ไม่เป็นฝ้าขุ่นมัวแม้จะอยู่ในที่ ๆ มีอุณหภูมิต่ำ
มีความเหนียวสูง
มีความทนทานต่อสารเคมีส่วนมาก รวมทั้งกรดและด่าง
ดูดซึมน้ำได้ค่อนข้างสูง
Subscribe to:
Posts (Atom)